เมื่อวันที่ 15 ก.ค. 64 สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้จัดการเสวนาออนไลน์ในหัวข้อ “Think Globally, Act Locally” โดยเชิญ รศ..ดร. เลิศรัก ศรีกิจการ ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสุขภาพหนึ่งเดียว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ คุณปฏิพัทธ์ สุสำเภา กรรมการผู้จัดการบริษัท Open Dream เป็นวิทยากร โดยมีเอกอัครราชทูตพิษณุ สุวรรณะชฎ เป็นผู้ดำเนินรายการ
วิทยากรทั้งสองท่านได้แบ่งปันความรู้และประสบการณ์การสร้างสรรค์และดำเนินโครงการผ่อดีดี ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่กับบริษัท Open Dream ในการพัฒนาแอปพลิเคชันเฝ้าระวังและจัดการโรค/ภัยพิบัติที่ชุมชนสามารถใช้งานและร่วมเป็นเจ้าของ โดยบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐ เอกชน และชุมชน ผ่านแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ มาประยุกต์เป็นระบบเฝ้าระวังโรคระบาดในคน สัตว์ และภัยพิบัติทางสิ่งแวดล้อมให้กับทุกภาคส่วนในชุมชนได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ทำให้โครงการ “ผ่อดีดี” ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่งจากการประกวด The Trinity Challenge ของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร ประจำปี ค.ศ. ๒๐๒๑ และได้รับรางวัลเป็นเงินทุนเพื่อพัฒนาโครงการฯ มูลค่า ๑.๓ ล้านปอนด์ (หรือประมาณ ๕๗.๔ ล้านบาท) จากมหาวิทยาลัยฯ ก่อนหน้านี้ โครงการ “ผ่อดีดี” ยังได้เคยรับรางวัลระดับอาเซียนและนานาชาติมาแล้วหลายรางวัล
วิทยากรทั้งสองท่านได้แบ่งปันความรู้และประสบการณ์การสร้างสรรค์และดำเนินโครงการผ่อดีดี ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่กับบริษัท Open Dream ในการพัฒนาแอปพลิเคชันเฝ้าระวังและจัดการโรค/ภัยพิบัติที่ชุมชนสามารถใช้งานและร่วมเป็นเจ้าของ โดยบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐ เอกชน และชุมชน ผ่านแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ มาประยุกต์เป็นระบบเฝ้าระวังโรคระบาดในคน สัตว์ และภัยพิบัติทางสิ่งแวดล้อมให้กับทุกภาคส่วนในชุมชนได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ทำให้โครงการ “ผ่อดีดี” ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่งจากการประกวด The Trinity Challenge ของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร ประจำปี ค.ศ. ๒๐๒๑ และได้รับรางวัลเป็นเงินทุนเพื่อพัฒนาโครงการฯ มูลค่า ๑.๓ ล้านปอนด์ (หรือประมาณ ๕๗.๔ ล้านบาท) จากมหาวิทยาลัยฯ ก่อนหน้านี้ โครงการ “ผ่อดีดี” ยังได้เคยรับรางวัลระดับอาเซียนและนานาชาติมาแล้วหลายรางวัล
วิทยากรทั้งสองท่านยังได้ย้ำถึงเจตนารมณ์และวิสัยทัศน์ในการต่อยอดโครงการฯ ในอนาคต ทั้งการพัฒนาและขยายผลการดำเนินโครงการ “ผ่อดีดี” เพื่อป้องกันโรคระบาดทั้งในประเทศไทยและในภูมิภาคอาเซียนและอนุทวีปเอเชียใต้เพื่อประโยชน์ของมวลมนุษยชาติต่อไป
นับเป็นความภาคภูมิใจของประเทศไทยที่คนไทยสามารถประยุกต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ากับเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ และเป็นประโยชน์โดยตรงสำหรับมนุษยชาติในภาพรวม
ท่านสามารถรับชมบันทึกวิดีโอคลิปการเสวนาฯ ดังกล่าวย้อนหลังได้ที่ ช่อง Youtube ของสถานเอกอัครราชทูตฯ