ศูนย์เฝ้าระวังสุขภาพหนึ่งเดียว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ ศูนย์นวัตกรรมการจัดการ (MIC) จัดสนทนากลุ่ม (Focus Group) ศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบผ่อดีดี และรูปแบบการบริหารจัดการระบบผ่อดีดี เพื่อให้สามารถใช้งานในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้แก่อปท.ศูนย์เรียนรู้ ภายใต้โครงการการประเมินความคุ้มค่าของระบบดิจิทัลเฝ้าระวังโรคระบาดและภัยสิ่งแวดล้อม "ผ่อดีดี" ณ โรงแรมเซ็นทารา ริเวอร์ไซด์ เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566
ในกิจกรรมนี้ ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.นฤมล กิมภากรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการจัดการ (MIC) พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและบุคลากรศูนย์นวัตกรรมการจัดการ ในการช่วยดำเนินกิจกรรมการประชุม ซึ่งมีตัวแทนผู้บริหารและบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จากอปท.ศูนย์เรียนรู้ มากกว่า 11 แห่ง โดยมุ่งเน้นสนับสนุนข้อมูลการให้บริการระบบผ่อดีดี เพื่อให้สามารถนำข้อมูลไปปรับปรุงแก้ไขและเกิดการพัฒนาระบบให้สอดคล้องกับการทำงานของแต่ละท้องถิ่น สามารถใช้งานระบบผ่อดีดีในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมต่อยอดขยายผลการใช้งานระบบให้เกิดประโยชน์ต่อการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆ
ทั้งนี้ ศูนย์นวัตกรรมการจัดการ มีแผนในการนำข้อมูลไปใช้ในการประเมินความคุ้มค่าของระบบดิจิทัลเฝ้าระวังโรคระบาดและภัยสิ่งแวดล้อม หรือระบบผ่อดีดี ให้กับศูนย์เฝ้าระวังสุขภาพหนึ่งเดียว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ต่อไป
ในกิจกรรมนี้ ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.นฤมล กิมภากรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการจัดการ (MIC) พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและบุคลากรศูนย์นวัตกรรมการจัดการ ในการช่วยดำเนินกิจกรรมการประชุม ซึ่งมีตัวแทนผู้บริหารและบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จากอปท.ศูนย์เรียนรู้ มากกว่า 11 แห่ง โดยมุ่งเน้นสนับสนุนข้อมูลการให้บริการระบบผ่อดีดี เพื่อให้สามารถนำข้อมูลไปปรับปรุงแก้ไขและเกิดการพัฒนาระบบให้สอดคล้องกับการทำงานของแต่ละท้องถิ่น สามารถใช้งานระบบผ่อดีดีในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมต่อยอดขยายผลการใช้งานระบบให้เกิดประโยชน์ต่อการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆ
ทั้งนี้ ศูนย์นวัตกรรมการจัดการ มีแผนในการนำข้อมูลไปใช้ในการประเมินความคุ้มค่าของระบบดิจิทัลเฝ้าระวังโรคระบาดและภัยสิ่งแวดล้อม หรือระบบผ่อดีดี ให้กับศูนย์เฝ้าระวังสุขภาพหนึ่งเดียว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ต่อไป